เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจ และรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับชุมชน รวมถึงบุคคลและสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจบทบาท หน้าที่ และความสัมพันธ์ของอาชีพต่างๆ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ชื่นชม ยินดี ยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล เคารพและให้เกียรติผู้อื่น ตลอดจนมีเจนคติที่ดีต่ออาชีพต่างๆ


Week4

เป้าหมายรายสัปดาห์  : เข้าใจวิถีการปฏิบัติตนในชุมชนและสามารถเข้าร่วมการทำบุญเบิกบ้านได้อย่างเหมาะสม
Week
lnput
Process
Output
Outcome
4


โจทย์ :
บุญเบิกบ้าน
Key  Question
บุญเบิกบ้านคืออะไร
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบุญเบิกบ้าน
Show and Learn : นำเสนอวิธีการทำข้าวกะยาสาด
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
 - นิทานเรื่อง











วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง ฮีตสิบสองคลองสิบสี
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ในนิทานมีตัวละครใครบ้าง  มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ นิทานที่ได้ฟัง
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบุญเบิกบ้าน
 ใช้ :
 นักเรียนวาดภาพระบายสีเกี่ยวกับบุญประเพณีที่นักเรียนรู้จัก
- (การบ้าน ครูให้นักเรียนและผู้ปกครองร่วมกันออกแบบทำกระทงในประเพณีบุญเบิกบ้านของหมู่บ้านตนเองว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร)
วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเมื่อวาน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองในการออกแบบทำกระทงในประเพณีบุญเบิกบ้านของหมู่บ้านตนเองว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการการออกแบบทำกระทงในประเพณีบุญเบิกบ้านของหมู่บ้านตนเองว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ใช้ :
นักเรียนนำเสนอผลงาน (กระทงในประเพณีบุญเบิกบ้านว่ามีอะไรบ้าง มีรูปแบบเป็นอย่างไร


วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง : (กิจกรรมผู้ปกครองอาสา)
- ผู้ปกครองนำใบมะพร้าว  ใบลาน ตอก ไม้ไผ่  มาให้นักเรียนสังเกต
- ผู้ปกครองใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนคิดว่า  ใบมะพร้าว  ใบลาน ตอก ไม้ไผ่  สามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง
เชื่อม :
 ผู้ปกครองและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ  ใบมะพร้าว  ใบลาน ตอก ไม้ไผ่ 
ใช้ :
- ผู้ปกครองและนักเรียนร่วมกันประดิษฐ์  กระด้ง , พัด
- นักเรียน Show and Learn  กระด้ง , พัด
วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูนำเมล็ดข้าวเปลือก  (ข้าวเหนียว)
มาให้นักเรียนสังเกต  ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนเห็นอะไร  สามารถเอาไปทำขนมอะไรได้บ้าง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนระดมความคิดเห็นพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับข้าวเปลือก  และขนมที่ทำจากข้าว
ใช้
 - ครูและนักเรียนคั่วข้าวเปลือกเก็บกากข้าวออกจากที่คั่วเสร็จแล้ว
- นักเรียนเขียนและวาดภาพอุปกรณ์ในการทำขนมกะยาสาท
วันศุกร์ (ชั่วโมง)
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนจะนำข้าวที่คั่วพร้อมเก็บกากข้าวเสร็จแล้วไปทำอะไรได้บ้าง
เชื่อม :
 - ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้าวที่คั่วพร้อมเก็บกากข้าวเสร็จแล้ว
- นักเรียนแต่ละกลุ่ม เตรียมอุปกรณ์ในการมาทำขนมข้าวกะยาสาท
 ใช้ :
นักเรียนทำขนมข้าวกะยาสาท



ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบุญเบิกบ้าน
 - พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์
-พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยว
กับการออกแบบทำกระทงในประเพณีบุญเบิกบ้านของหมู่บ้านตนเองว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร)
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำขนมข้าวกะยาสาท
ชิ้นงาน
- นักเรียนวาดภาพระบายสีเกี่ยวกับบุญประเพณีที่นักเรียนรู้จัก
- นักเรียนประดิษฐ์กระด้ง , พัด
ความรู้
เข้าใจวิถีการปฏิบัติตนในชุมชนและสามารถเข้าร่วมการทำบุญเบิกบ้านได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



ตัวอย่างกิจกรรม











ตัวอย่างชิ้นงาน



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์ที่ 4 พี่ๆ อนุบาล 2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับบุญเบิกบ้าน พี่ๆ สอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ บุญเบิกบ้าน พี่ๆ ได้ร่วมทำกระทงในประเพณีบุญเบิกบ้านร่วมกับผู้ปกครอง พี่ๆ เห็นได้ว่าจากการที่นำกระทงที่ทำในพีธีบุญเบิกบ้านของแต่ละหมู่บ้านไม่เหมือนกัน พี่น๊อต : ของผมมีข้าวแดง ข้าวดำ พี่ข้าวหอม : มีข้าวกะยาสาท มะม่วง น้ำตาลค่ะ พี่สาว : กระทงของหนูจะเป็นช่องหลายๆช่องค่ะ พี่แสตมป์ : มีรูปปั้น ควาย วัว ครับ พี่ออม : มีหมาก มีข้าวกับปลาค่ะ กิจกรรมประเพณีบุญเบิกบ้านจะเห็นได้ว่าแต่ละหมู่บ้านจะทำไม่เหมือนกัน กิจกรรมบุญเบิกบ้านไม่ได้เกิดขึ้นแต่กับเด็กแต่ยังเกิดขึ้นกับผู้ปกครองผู้ปกครองได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ร่วกันในช่วงเช้าที่ผู้ปกครองได้มาส่งลูกๆ ผู้ปกครองที่อยู่ในเมืองไม่เคยรู้และไม่เคยเคยไม่เคยได้ร่วมบุญประเพณีที่ทำกระทงแบบนี้มาก่อนเลย ผู้ปกครองก้ได้เรียนรู้ไปพร้อมกับนักเรียน พี่ๆ ได้ทำขนมข้าวกะยาสาท พี่ๆ จัดเตรียมอุปกรณืในการที่จะคั่วข้าวกะยาสาทพี่ๆ ทุกคนตื่นเต้นในตอนที่คั่วข้าว พี่ฮิว : เหมือนปอปคอร์นกำลังแตกออกเลยครับ พี่กร : เหมือนข้าวโพดคั่วเลยครับ พี่พลอยใส : หนูว่าตอนที่พี่ๆ เขาแตกเหมือนดอกไม้บานค่ะ พี่ๆ สนุกสนานกับการทำขนมข้าวกะยาสาท เพราะว่าได้ช่วยกันทำและได้ทานเอง พี่กาแฟ : ข้าวกะยาสาทอร่อยมากครับ พี่สาว : หนูรู้ค่ะว่าทำไมพี่เขาถึงเหนี่ยวเพราะว่าใส่แปะแซด้วยค่ะ พี่จินจู : ใส่ถั่วลงไปด้วยค่ะเลยทำให้อร่อย พี่อ๋อมแอ๋ม : ใส่งาคั่วจะทำให้หอมค่ะ พี่หนูดี : ถ้าอยากให้ขาเป็นสีเขียวเราต้องใส่น้ำใบเตยใช้ไหมค่ะ พี่น๊อต: ก่อนที่จะนำข้าวตอกมาค้นเราต้องใส่กะทิ น้ำตาลแล้วค้นให้เข้ากันครับ พี่กายจะมีข้าวที่เป็นสีข้าวเป็นข้างพองเอามาค้นใส่ด้วยครับ ตลอดทั้งสัปดาห์พี่ๆ ทำได้เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ