เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจ และรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับชุมชน รวมถึงบุคคลและสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจบทบาท หน้าที่ และความสัมพันธ์ของอาชีพต่างๆ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ชื่นชม ยินดี ยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล เคารพและให้เกียรติผู้อื่น ตลอดจนมีเจนคติที่ดีต่ออาชีพต่างๆ


Week6

เป้าหมายรายสัปดาห์  : เข้าใจเกี่ยวกับประเพณีพิธีบุญข้าวประดับดินสามารถอธิบายความหมายความเป็นมา ขั้นตอนการปฏิบัติของบุญข้าวประดับดินในชุมชนยอมรับและเคารพในความแตกต่างของแต่ละชุมชนทั้งยังสามารถเข้าร่วมพิธีกรรมได้อย่างเหมาะสม
Week
lnput
Process
Output
Outcome
6


โจทย์ :
บุญข้าวประดับดิน
Key  Question
- ทำไมต้องมีการทำบุญข้าวประดับดิน
- บุญข้าวประดับดินคืออะไร
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบุญข้าวประดับดิน
Show and Learn : นำเสนอวิธีการทำขนมคาวหวาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
 - นิทาน ตอน บุญข้าวประดับดิน
- สื่อจริง  วัสถุดิบ /อุปกรณ์ในการทำอาหาร  คาว  หวาน











วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ ตอน บุญข้าวประดับดิน เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่บุญข้าวประดับดิน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ในนิทานมีตัวละครใครบ้าง  มีเหตุการณ์อะไรบ้าง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ นิทานที่ได้ฟังแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบุญข้าวประดับดิน
 ใช้ :
 นักเรียนวาดภาพระบายสีเกี่ยวกับบุญข้าวประดับดินที่นักเรียนเคนเห็นหรือจินตนาการ
วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง : (กิจกรรมผู้ปกครองอาสา)
- ครูแลนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเมื่อวาน
- ครูให้นักเรียนสังเกต วัสดุ ใบตองกล้วย ก้านกล้วย  เมล็ดพืชผัก  วัสดุธรรมชาติต่างๆ   สีน้ำ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  เห็นอะไร  นำไปทำอะไรได้บ้าง  คิดว่าเกี่ยวข้องอะไรกับบุญข้าวประดับดินออย่างไร
- ผู้ปกครองอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดสถานที่ในการทำบุญข้าวประดับดิน     ใบตองกล้วย  ก้านกล้วย เมล็ดพืชผัก
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด แล้วนักเรียนจะจัดทำ กระทง ใบตองกล้วยอย่างไร
เชื่อม :
 ครูนักเรียนผู้ปกครองร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพจาก ใบตองกล้วย  เมล็ดพืชผัก  วัสดุธรรมชาติต่างๆ   สีน้ำ เพื่อตกแต่งในพิธีบุญข้าวข้าวประดับดิน
ใช้ :
- ผู้ปกครองและนักเรียนร่วมกันสรุปขั้นตอนการพิมพ์ภาพประดิษฐ์  จาก ใบตองกล้วย  เมล็ดพืชผัก  วัสดุธรรมชาติต่างๆ
- (การบ้าน  ครูให้นักเรียนสอบถามความเป็นมาของบุญข้าวประดับดินในชุมชนของตนเอง )
วันพุธ  ( 1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเมื่อวาน
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการไปสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับบุญข้าวประดับดิน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  แต่ละชุมชนมีวิธีการทำบุญข้าวประดับดินเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
เชื่อม :
 ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีบุญข้าวประดับดินของหมู่บ้านของหมู่บ้านตนเองว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ใช้ :
นักเรียน Show  and  Learn การทำบุญข้าวประดับดินว่ามีวิธีการทำอย่างไรบ้าง

วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเมื่อวาน
- ครูนำขนมชั้น  วุ้น  ข้าวต้มมัด  กับข้าว มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนเห็นอะไร  มีวิธีทำอย่างไรบ้าง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำขนมหวาน  กับข้าวและวิธีการทำ
ใช้
 ครูและนักเรียนร่วมกันทำขนมหวาน  กับข้าวใส่กระทงใบตองกล้วยในพิธีบุญข้าวประดับดิน

วันศุกร์ (ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเมื่อวาน
- ครูนำขนมคาวหวานที่ทำเป็นห่อจากใบตองกล้วยมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนเห็นอะไร  เคยเห็นที่ไหน  มีขั้นตอนการทำอย่างไร
เชื่อม :
 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีขั้นตอนการทำ / วัตถุดิบ  ในการทำขนมคาวหวานและวิธีการห่อ
 ใช้ :
ครูและนักเรียนร่วมกันทำขนมคาวหวานและห่อ


ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบุญข้าวประดับดิน
 - พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำขนมคาวหวาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบุญข้าวประดับดิน

ชิ้นงาน
- นักเรียนวาดภาพระบายสีเกี่ยวกับบุญข้าวประดับดินที่นักเรียนรู้จัก
- วาดภาพระบายสีอุปกรณ์และส่วนผสมในการทำขนมคาวหวานในบุญข้าวประดับดิน
- นักเรียนพิมพ์ภาพจากวัสดุธรรมชาติ
ความรู้
 เข้าใจเกี่ยวกับประเพณีพิธีบุญข้าวประดับดินสามารถอธิบายความหมายความเป็นมา ขั้นตอนการปฏิบัติของบุญข้าวประดับดินในชุมชนยอมรับและเคารพในความแตกต่างของแต่ละชุมชนทั้งยังสามารถเข้าร่วมพิธีกรรมได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



ภาพกิจกรรมการเรียนรู้









ภาพชิ้นงาน







1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์นี้ พี่ๆ อนุบาล 2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับบุญประเพณีข้าวประดับดิน พี่ๆ ได้สอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับข้าวประดับดิน แล้วมาเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆ ฟัง
    พี่อุ้ม : ที่บ้านหนูก่อนที่จะเรียกว่าบุญข้าวประดับดินเพราะว่าต้องนำเมล็ดข้าวไปวานลงดินให้เกิดมาแล้วเรานำมากินค่ะ
    พี่แสตมป์ : บุญข้าวประดับดินต้องทำกับข้าว ขนมหวาน ไข่ น้ำ ไปวางใส่ใบตองกล้วยวางไว้ที่รากของต้นไม้ครับ
    พี่กาย : บ้านผมจะนำข้าวธุปเทียน น้ำ ไปวางที่ทุ่งนาครับ
    พี่สายไหม : คุณตาหนูบอกว่าก่อนที่จะมาเป็นการทำบุญข้าวประดับดิน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บุญข้าวสากน้อย ทำขนม กับข้าว ใส่กระทงไปวางตามรากของต้นไม้ค่ะ
    พี่ ๆ อนุบาล 2 ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ อุปกรณ์ในการทำข้าวต้มมัดและวิธีการทำ ได้ทำข้าวต้มมัด
    พี่อ๋อมแอ๋ม : มีใบตองไว้ห่อข้าวต้มค่ะ
    พี่สาว : ใส่กล้วยด้ยวค่ะ
    พี่กาแฟ : ใส่ถั่วด้วยครับทำให้อร่อยครับ
    พี่สาว : ใช้ตอกเอามามัดข้าวต้มค่ะ
    พี่จินจู : ต้องใส่มะพร้าวด้วยค่ะ
    พี่วันใหม่ : มีข้าวสารข้าวเหนียวค่ะ
    พี่ไดมอนด์ : ต้องใส่เกลือลงไปด้วยครับ
    ผู้ปกครองอาสา สร้าการเรียนรู้ในการพาพี่ๆ อนุบาล 2 ทำข้าวต้มมัด พี่ๆ อนุบาล 2 ได้ช่วยเตรียมอุปกรณ์ในการทำข้าวต้มมัด พี่ๆ ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ได้เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ