เป้าหมายรายสัปดาห์ นักเรียนสามารถเรียนรู้เข้าใจถึงประโยชน์ ในการละเล่น
ข้อควรละวัง
และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น
รู้จักเลือกเล่นของเล่นที่เหมาะสมกับตนเอง
Week
|
lnput
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
7
|
โจทย์ :
การละเล่นพื้นบ้านในอดีต
- เดินกะลา
- ม้าก้านกล้วย
- โพงพาง
- ม้าหลังโปก
Key Question
การละเล่นพื้นบ้านมีวิธีการเล่นอย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน
Show and
Learn : นำเสนอวิธีการละเล่นพื้นบ้าน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นิทานเรื่อง “การละเล่นไทย “
|
วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง “การละเล่นไทย “
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
ในนิทานมีตัวละครใครบ้าง
มีการเล่นอย่างไร
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
นิทานที่ได้ฟัง
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวการละเล่นไทย
ใช้ :
นักเรียนแตก
web การละเล่นพื้นบ้าน
วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลงโพงพางเอย.
"
โพงพางเอย ปลาเข้าลอด ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง โพงพางเอย นกกระยางเข้าลอด เสือปลาตาบอด
เข้าลอดโพงพาง กินปลาเป็นหรือกินปลาตาย
"
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่นต่าง
ๆของภาคเหนือ เช่น การละเล่น“โพงพาง”
-ครูอธิบายขั้นตอนการเล่น “โพงพาง” ดังนี้ 1.เลือกคนที่เป็นปลา โดยการจับไม้สั้นไม้ยาว เอาผ้าผูกตาคนที่เป็นปลา แล้วหมุน 3รอบ 2. ผู้เล่นคนอื่นๆ ล้อมวงจับมือกันเดินเป็นวงกลม พร้อมร้องเพลงประกอบ เมื่อจบเพลงนั่งลง ถามว่า "ปลาเป็นหรือปลาตาย" ถ้าตอบว่า "ปลาเป็น" คนที่อยู่รอบวงจะขยับเขยื้อน หนีได้ ถ้าบอก "ปลาตาย" จะต้องนั่งอยู่เฉยๆ คนที่ถูกปิดตาทายถูกก็ต้องมาเป็นแทน ถ้าทายผิดต้องเป็นต่อไป (ผู้ที่เป็นปลา ซึ่งถูกปิดตาจะต้องทายว่า ผู้ที่ถูกจับได้เป็นใคร ชื่ออะไร)
ใช้ :
นักเรียนเล่นการละเล่น “โพงพาง”
วันพุธ ( 1ชั่วโมง)
ชง :
ครูนำผ้าที่มัดให้เป็นก้อนกลม
ๆ มาให้นักเรียนสังเกตดู ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนเห็นอะไร?”
“คิดว่านำไปเล่นได้อย่างไร?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่น “ม้าหลังโปก”
-ครูให้นักเรียนจับคู่แล้วยืนเป็นวงกลม
-
ครูสาธิตวิธีการละเล่น“ม้าหลังโปก” ดังนี้
1.ใช้ผ้ามัดเป็นก้อนกลม ๆ เป็นอุปกรณ์ในการเล่น
2. ผู้เล่นจับคู่ ม้า กับ คนขี่โดยคนขี่ ขึ้นขี่หลังม้าให้ครบทุกคน ยืนล้อม เป็นวงกลม
3.ให้แต่ละคู่อยู่ห่างกันพอประมาณ
4. ผู้เล่นฝ่ายคนขี่ เริ่มโยนบอลให้ผู้ขี่คนอื่นและโยนส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ วนไปตามที่ยืนล้อมวงกัน 5. ฝ่ายม้าพยายามทำให้คนขี่รับบอลไม่ได้ด้วยการไม่อยู่นิ่ง ๆ ให้เป็นอุปสรรคต่อการรับบอล ฝ่ายคนขี่ก็ต้องพยายามรับบอลให้ได้หากม้าดื้อเกินไปก็อนุญาตให้ลงโทษด้วยการเอาลูกบอลเคาะหัว ห้ามใช้ อย่างอื่น (จะเคาะหัวม้าได้ ก็ต่อเมื่อ มีบอลอยู่ในมือ)
6.หากฝ่ายขี่รับบอลไม่ได้ หรือทำบอลหลุดมือ ตกพื้น
ฝ่ายม้าต้องรีบตะครุบบอล แล้วปาใส่ให้โดนผู้เล่นฝ่ายคนขี่ คนใดก็ได้ ถ้าปาโดน
ก็จะสลับ กลับข้าง ให้ฝ่ายม้าเป็นคนขี่ ฝ่ายคนขี่ กลับมาเป็นม้า บ้าง
แต่ถ้าปา ไม่โดน ฝ่ายม้าก็จะต้องเป็นม้าให้ฝ่ายคนขี่ ตามเดิม
ใช้ :
ครูนักเรียนเล่นการละเล่น
“ม้าหลังโปก”
วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง : (กิจกรรมผู้ปกครองอาสา)
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเมื่อวาน
- ครูให้นักเรียนสังเกต วัสดุ
ใบตองกล้วย ก้านกล้วย
กะลา
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนเห็นอะไร นำไปทำของเล่นอะไรได้บ้าง
-
ผู้ปกครองอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเล่น
เชื่อม :
ครูนักเรียนผู้ปกครองร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำของเล่น
จากใบตอง ก้านกล้วย กะลา
ใช้
- ผู้ปกครองนักเรียนร่วมกันเล่นม้าก้านกล้วย เดินกะลา
- ครูและนักเรียนสรุปขั้นตอนการทำของเล่น จากก้านกล้วย กะลา
วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเมื่อวาน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน
เชื่อม :
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมการละเล่นที่ได้เล่นมาทั้งสัปดาห์
ใช้ :
นักเรียนเขียน Web เกี่ยวกับกิจกรรมการละเล่นที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์
รวมถึงวิธีการเล่น/ข้อควรระวังในการเล่น
|
ภาระงาน
-
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน
-
พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์
-
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่น“โพงพาง”
-
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นม้าหลังโปก”
ชิ้นงาน
- นักเรียนแตก
web การละเล่นพื้นบ้าน
- นักเรียนเขียน Web เกี่ยวกับกิจกรรมการละเล่นที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์
รวมถึงวิธีการเล่น/ข้อควรระวังในการเล่น
|
ความรู้
นักเรียนสามารถเรียนรู้เข้าใจถึงประโยชน์ ในการละเล่น
ข้อควรละวัง
และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รู้จักเลือกเล่นของเล่นที่เหมาะสมกับตนเอง
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ
เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
-
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
- คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน
รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
-
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม
เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู
ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
-
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ
แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
|
บันทึกหลังการสอน
ตอบลบในสัปดาห์ที่ 7 พี่ๆ อนุบาล 2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านในสมัยก่อน ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด พี่ๆ อนุบาล 2 รู้จักการละเล่นอะไรบ้างและมีวิธีการเล่นอย่างไร
พี่กาย : ม้าก้านกล้วยครับตาผมเคยทำให้เล่นวิ่งแข่งกันครับ
พี่อ๋อมแอ๋ม : ปิดตาตีปี๊บค่ะ
พี่น๊อต : รีรีข้าวสารครับ
พี่แสตมป์ : กระโดดยางครับ
พี่อุ้ม : เป่าหนังยางค่ะ
พี่ไดมอนด์ : งูกินหางครับ
พี่วันใหม่ : ปิดตาทายค่ะ
พี่โช๊ค : มอญซ่อนผ้าครับ
พี่ใบพลู : วิ่งเปรี้ยวค่ะ
พี่พลอย : ปลาเป็นปลาตายค่ะ (โพงพาง)
ครูและพี่ๆ อนุบาล 2 ร่วมเล่นการละเล่นพื้นบ้าน ปิดตาทาย รีรีข้าวสาร มอญซ่อนผ้า วิ่งเปี้ยว วิ่งม้าก้านกล้วย โพงพาง
ผู้ปกครองอาสา ร่วมสร้างการเรียนรู้ให้กับพี่ๆ อนุบาล 2 ในสัปดาห์นี้ ผู้ปกครองพาพี่ๆ อนุบาล 2 ทำของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อเล่นในการละเล่นพื้นบ้าน ม้าก้านกล้วย ปืนก้านกล้วย รถจากก้านกล้วย
พี่ๆ อนุบาล 2 ได้เรียนรู้วิธีการทำ และได้ลงมือทำด้วยตนเองพี่ๆ ทุกคนต่างตื่นเต้นดีใจและได้ร่วมทำกับผู้ปกครองอย่างตั้งใจ ได้เล่นกับเพื่อนๆ สนุกสนานร่วมกันพี่ๆ ทุกคนทำได้เยี่ยมมากค่ะ