เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจ และรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับชุมชน รวมถึงบุคคลและสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจบทบาท หน้าที่ และความสัมพันธ์ของอาชีพต่างๆ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ชื่นชม ยินดี ยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล เคารพและให้เกียรติผู้อื่น ตลอดจนมีเจนคติที่ดีต่ออาชีพต่างๆ


Week8

เป้าหมายรายสัปดาห์  นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านในอดีต ยอมรับและเคารพในกฎกติกา สามารถเล่นกับผู้อื่นได้  เห็นความสำคัญหรือประโยชน์การเล่น  และตระหนักถึงความปลอดภัยของการเล่นสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม
Week
lnput
Process
Output
Outcome
8


โจทย์ :
การละเล่นพื้นบ้านในสมัยก่อน
- รีรีข้าวสาร
- มอญซ้อนผ้า
- วิ่งเปี้ยว
- กระโดดยาง
- ปิดตาตีปี๊บ
Key  Question
การละเล่นพื้นบ้านในสมัยก่อนเป็นอย่างไรและมีวิธีการเล่นอย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านพื้นในสมัยก่อน
Show and Learn : นำเสนอวิธีการละเล่นพื้นบ้านในสมัยก่อน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
 - นิทานเรื่อง  “การละเล่นพื้นบ้าน
- เพลง “รีรีข้าวสาร”
- เพลง  มอญซ่อนผ้า
เพลง  แม่งูเอ๋ย













วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง การละเล่นพื้นบ้าน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ในนิทานมีตัวการละเล่นอะไรบ้าง  มีการเล่นอย่างไร
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ นิทานที่ได้ฟัง
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวการละเล่นพื้นบ้าน
 ใช้ :
 นักเรียนวาดภาพการละเล่นพื้นบ้านในสมัยก่อน
วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ผู้ปกครองอาสา  (งานปั้นจากดินเหนียว)
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเมื่อวาน
- ผู้ปกครองอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านในสมัยก่อนในการปั่นดินเหนียว
เชื่อม :
 ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปั้นดินเหนียว
ใช้ :
- ผู้ปกครองและนักเรียนร่วมกันปั้นของเล่นดินเหนียว
- นักเรียนสรุปขั้นตอนการปั้น
วันพุธ  ( 1ชั่วโมง)
ชง :
 ครูและนักเรียนพูดคุยนัดหมายเกี่ยวกับการออกไปเรียนรู้นอกสถานที่เรียนรู้พิพิธภัณฑ์ของโบราณที่วัดบ้านยาง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการไปเรียนรู้นอกสถานที่เรียนรู้พิพิธภัณฑ์ของโบราณที่วัดบ้านยาง

วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนรู้จักรอะไรบ้างที่เป็นวัตถุโบราณ  ที่อยู่ในชุมชนของตนเอง  มีชื่อว่าอะไรบ้าง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุโบราณ  ที่ที่อยู่ในชุมชนของตนเอง 
ใช้ :
 ครูนักเรียนผู้ปกครองเรียนรู้นอกสถานที่  (พิพิธภัณฑ์ของโบราณที่วัดบ้านยาง)
วันศุกร์ (ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเมื่อวาน
เชื่อม :
-  ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านพร้อมกับการแต่งตัวในการละเล่นพื้นบ้านในสมัยก่อน
- ครูและนักเรียนเตรียมชุดในการแต่งตัวในการเล่นการละเล่นพื้นบ้านร่วมกับผู้ปกครองและน้องนุบาล 1
 ใช้ :
 ครูนักเรียนผู้ปกครองและน้องอนุบาล 1ร่วมกันเล่นการละเล่นในสมัยก่อน

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านในสมัยก่อน
 - พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่นรีรีข้าวสาร
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นมอญซ้อนผ้า
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่น  “งูกินหาง”
ชิ้นงาน
- นักเรียนวาดภาพการละเล่นพื้นบ้านในสมัยก่อน
- นักเรียนเขียน Web เกี่ยวกับกิจกรรมการละเล่นและได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์

ความรู้
นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านในอดีต ยอมรับและเคารพในกฎกติกา สามารถเล่นกับผู้อื่นได้  เห็นความสำคัญหรือประโยชน์การเล่น  และตระหนักถึงความปลอดภัยของการเล่นสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้







ตัวอย่างชิ้นงาน







1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์ที่ 8 พี่ๆ อนุบาล 2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการละเล่นในสมัยก่อน ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด พี่ๆ รู้จักการละเล่นพื้นบ้านในสมัยก่อน มีอะไรบ้าง และมีวิธีการเล่นอย่างไร?
    พี่น๊อต : การละเล่นปิดตาตีปี๊บครับ
    พี่สาว : เดินกะลาค่ะ
    พี่พลอย : ม้าส่งเมืองค่ะ
    พี่ไดมอนด์ : หมากเก็บ
    พี่แสตมป์ : กาฟักไข่
    พี่เพลง : เป่าหนังยาง กระโดดยางค่ะ
    ในพฤหัสบดี พี่ๆ อนุบาล 2 ได้ออกไปเรียนรู้นอกสถานที่ ที่วัดบ้านยาง เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนในอดีต ซึ่งสอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้เพื่อให้พี่ๆ อนุบาล 2 เห็นความเป็นสภาพจิงของชุมชนในอดีต จากศูนย์การเรียนรู้และบุคคลในหมู่บ้าน พี่ๆ อนุบาล 2 ต่างตื่นเต้นและดีใจกับการออกไปเรียนรู้ที่ (พิพิธภัณฑ์ของโบราณที่วัดบ้านยาง) โดยมีผู้ปกครองได้เล่าประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับสิ่งของโบราณที่แหล่งเรียนรู้
    พี่แสตมป์ : ผมอยากรู้ว่าทำไมคนสมัยคุณตาคุณยายต้องเขียนกระดานชนวนครับ
    พี่ไดมอนด์ : ไหมีไว้เพื่อทำอะไรทำไมมีเยอะจังเลยครับ
    พี่ใบพลู : เต่ารีดในสมัยก่อนทำไมไม่เหมือนตอนนี้ค่ะ แล้วทำไมรีดได้ค่ะ
    พี่สายไหม : กระสวยทอผ้ามีเยอะมากเลยค่ะ เพราะว่าตอนนี้คุณยายหนูใช้ทอผ้าเหมือนกันเลยค่ะ
    พี่อุ้ม : ที่วัดบ้านยางมีกล่องข้าวใหญ่มากเลยค่ะ ไม่เหมือนที่บ้านหนูอันเล็กนิดเดียวค่ะ
    พี่พลอยใส : กระด้งทำไมอันใหญ่จังค่ะ ผู็ปกครองได้เล่าให้ฟังว่า อันที่พี่พลอยใสเรียกว่ากระด้ง เขามีชื่อว่า จ่อ
    พี่จินจู : ทำไมที่ในวัดมีการทอผ้าเยอะจังเลยค่ะ
    พี่โช๊ค : ตอนนี้ทำไมผมไม่เคยเห็นคนใส่กระดิ่งในคอ ควาย วัว เลยครับ แต่ทำไมที่นี้มีเยอะจังเลยครับ
    พี่กาย : เงินทำไมไม่เหมือนในตอนนี้มีใบสิบด้วยครับ และมีแต่เป็นใบสีเก่าๆ ผมไม่เคยเห็นเลยครับ
    พี่ใบพลู : ดูคุณยายทอผ้าขาวม้า คุณยายทำไมต้องหยีบไม้ที่อยู่ข้างล่างด้วยละค่ะ
    และในสัปดาห์นี้มีผู้ปกครองอาสามาร่วมเล่นการละเล่นพื้นบ้าน กับพี่ ๆ อนุบาล 2 - 1 เล่นร่วมกันโดยการเล่นแต่งชุดพื้นบ้าน ชุดไทย ตลอดทั้งสัปดาห์พี่ๆ อนุบาล 2 ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและสนใจเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ออกไปเรียนรู้มีข้อสังสัยอยากรู้อย่างเห็น สนุกสนานเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์พี่ๆ ทุกคนทำได้เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ